๑. องค์พระธาตุพนม อันเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนหัวอก ) ของพระพุทธเจ้า เป็นพระธาตุเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง มีอายุเก่าแก่มากกว่าสองพันห้าร้อยปี สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธา วิริยะ อุตสาหะ และสติปัญญา ของบรรพชนในสมัยแคว้นศรีโคตบูรเจริญรุ่งเรือง
๒. พระอุโบสถ สร้างมาแต่สมัยโบราณโดย พระยาจันทสุริยวงศ์ ( กิ่ง ) เจ้าเมืองมุกดาหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุพนมคู่กันกับหอพระแก้ว ได้รื้อบูรณะใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ขยายยื่นออกมาทางด้านหน้า ๗ เมตร ด้านหลังเป็นมุข ภายในซุ้มเรือนแก้วสำหรับประดิษฐานพระประธาน ยื่นออกมากว้าง ๑ เมตร ศิลปกรรมของพระอุโบสถ เป็นแบบล้านนา
๓. วิหารหอพระแก้ว สร้างขึ้นครั้งแรก ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๘๒ – ๒๑๐๒ สมัยพระเจ้าโพธิสาราช กษัตริย์ในราชวงศ์ล้านช้างองค์ที่ ๔๐ แห่งเมืองหลวงพระบาง ทรงสร้างเอาไว้โดยก่ออิฐถือปูน เดิมเป็นวิหารใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ถูกพระธาตุพนมล้มทับพังยิบเยินเหลือแต่ฐานสูงประมาณ ๑ เมตรเศษ ทำให้หอพระแก้วได้รับความเสียหายมาก ตัวหอพระแก้วยังไม่ได้สร้างขึ้นใหม่มีแต่องค์พระมารวิชัยศาสดาซึ่งเป็นพระประธานในหอพระแก้วประดิษฐาน เด่นเป็นสง่าหน้าองค์พระธาตุพนม
๔. วิหารคตรอบองค์พระธาตุพนม พระธรรมราชานุวัตร ( แก้ว กนฺโตภาโส ) ได้สร้างขึ้นเมื่อครั้งเป็นพระมหาแก้ว พ.ศ. ๒๔๘๑ วิหารนี้มีทั้งหมด ๑๐๗ ห้อง ยาวห้องละ ๓ เมตร และประตูอีก ๓ ห้อง รวม ๑๑๐ ห้อง ซุ้มประตูทิศตะวันออก ด้านหน้าวัด ๓ ซุ้ม เฉพาะประตูใหญ่ตัวกลางได้สร้างขึ้นใหม่ เจาะประตูอีก ๒ ข้าง วิหารคตด้านทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ก่อประตูใช้เวลาสร้าง ๑๑ ปี จึงแล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๑
๕. หอบูชาข้าวพระ
รูปลักษณะคล้ายปราสาทผึ้งสมัยโบราณ ทรงมณฑปศิลปะแบบอีสาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ภายในลานพรธธาตุ ในกำแพงแก้วชั้นที่ ๓ หอบูชาข้าวพระนี้ใช้เป็นที่ถวายข้าวบูชาพระธาตุ เป็นประเพณีของชาวบ้าน สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๑๑๔ มีอยู่ ๒ หลัง คือ ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก เฉพาะด้านทิศตะวันตก ได้จำลองแแบออกไปประดิษฐานที่กำแพงแก้วชั้นนอกด้านทิศเหนือ ส่วนด้านทิศตะวันออกได้ถูกพระธาตุพนมล้มทับ พังยับเยินเมื่อครั้งพระธาตุพนมล้มใน พ.ศ. ๒๕๑๘
๖. วิหารพุทธไสยาสน์
อยู่นอกวิหารคตด้านทิศเหนือ นอกเขตพุทธาวาส ใกล้สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธบาทจำลอง กล่าวกันว่า ก่อนที่จะนำพระอุรังคธาตุเข้ามาประดิษฐานในอูบมุงภูกำพร้านั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุมาก่อน
๗. เสาหลักศิลาเสมา
เป็นแบบทวารวดี กว้างประมาณ ๑๕ นิ้ว สูง ๓ เมตรเศษ ปักเป็นเขตพระบรมธาตุ ตรงมุมกำแพงแก้วชั้นนอกทั้ง ๔ ด้าน พร้อมรูปสัตว์ประหลากอัจมุขี
๘. สระน้ำมูรธาภิเษก
เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์โบราณเรียกว่า “บ่อน้ำพระอินทร์”มีบ่อน้ำจืดใสสะอาดอยู่ในป่าตาล ใกล้หอพระพุทธไสยาสน์ ปัจจุบันทำเป็นเขื่อนไว้โดยรอบ ถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๑ ในจำนวน ๑๘ แห่ง ที่เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์นำมาใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกให้พระมหากษัตริย์สรงที่เรียกว่า “สรงมูรธาภิเษก”
นอกจากสระน้ำแห่งนี้แล้ว ยังมีสระพังทอง เป็นสระน้ำโบราณขนาดใหญ่อยู่ตอนหลังอีกแห่งหนึ่ง โบราณวัตถุอื่น ๆ นอกจากนี้ก็มีรูปปั้นเทพารักษ์อยู่ปลายถนนกุศลรัษฏากร หน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ประตูโขงปลายสะพานวัด พระเจดีย์พระธาตุพนมจำลอง และศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกเจ้าพระยานคร บันทึกเหตุการณ์ที่พระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูรหลวง มาบูรณะวัดพระธาตุพนม เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ เก็บรักษาไว้ที่เชิงปราสาทหอบูชาข้าวพระด้านหน้าพระธาตุพนม จึงถูกพระธาตุพนมพังทับด้วย นอกจากนั้นก็มีจารึกอิฐเปาเรื่องการสร้างพระอุโบ
Views : 356