เมื่อพระโพธิสัตว์ได้เสวยชาติ เสวกบัณฑิต ฉลาดยิ่งนัก ในวันพระท่านได้เทศนาดังนี้ มีพราหมณ์แก่ คนหนึ่ง เที่ยวขอทรัพย์มาเก็บไว้ได้ร้อยหนึ่ง ก็นำฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้ เพราะตน จะไปแสวงหาทรัพย์เมืองไกล เกรงจะทำหาย หรือถูกโจรแย่งชิง พราหมณ์ที่รับฝากนั้น อยู่ต่อมา เกิดยากจน เห็นเพื่อนหาย ไปนานก็คิดว่า “เพื่อนเราแก่ชราแล้วป่านนี้คงไปตายที่เมืองไกล“
เมื่อคิดได้ดังนั้น ก็เอาทรัพย์ร้อยหนึ่งนั้นมาจับจ่ายซื้อข้าวปลาอาหารกิน เรื่อยมา จนหมดทรัพย์ที่พราหมณ์แก่ได้ฝากไว้นั้น แต่ไม่ช้า พราหมณ์แก่ก็กลับมาทวงทรัพย์คืน พราหมณ์ ที่รับฝากไว้ไม่มีให้ แต่บอกว่า “เรามีลูกสาวสวย อายุเพิ่งได้สิบห้าปี เราจะยกให้เป็นภรรยา ท่าน ส่วนท่านก็ยกทรัพย์ร้อยหนึ่งที่ฝากเราไว้แก่เรา ดีหรือไม่” พราหมณ์แก่ได้เห็นลูกสาวสวยของเพื่อน ก็ยินดีตกลง แล้วรับนางมาอยู่กินที่เรือนของตน
แต่ภรรยาสาวสวยของพราหมณ์แก่มีความทุกข์ทรมาณกายใจนักที่ได้สามีแก่ นางจึงไปมีชู้เป็นชายหนุ่ม แล้วออกอุบายให้สามีแก่ไปเมืองไกลๆ นานๆ ว่า “เราต้องลำบากตรากตรำ ทำงานหนักเหลือเกิน ท่านเป็นสามี หน้าที่ต้องเลี้ยงดูเราให้สุขสบาย ท่านจะไปเที่ยวหาทรัพย์ ในเมืองไกลให้ได้พันหนึ่ง แล้วนำมาให้เราใช้ จ่ายตามสบายเถิด เราจึงจะอยู่กับท่านต่อไป มิฉะนั้นเราจะหนีไปเสีย“
พราหมณ์แก่ก็รีบไปตามคำสั่งของนาง แบกกระทอห่อข้าวตูก้อน ข้าวตูผงไปกิน เป็นเสบียงตามทางด้วย แล้วเขาก็เที่ยวขอทรัพย์ตามเมืองไกลมาได้เจ็ดร้อย วันหนึ่ง แกไปหยุด กินข้าวตูที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ อิ่มแล้วก็ ไปดื่มน้ำที่ลำธาร โดยไม่ได้ผูกปากกระทอปิดไว้ก่อน งูเห่า ได้กลิ่นข้าวต ูก็ออกมาจากโพรงไม้ เลื้อยเข้าไปในกระทอ พราหมณ์แก่ดื่มน้ำอิ่มกลับมา ผูกปากกระทอ แล้วก็แบกขึ้นบ่า เดินทางต่อไป เทพารักษ์สงสารพราหมณ์แก่ ก็บอกว่า
“ถ้าท่านเดินทางต่อไป วันนี้ท่านจะต้องตาย แต่ถ้าท่านกลับบ้าน วันนี้เมียท่านจะตาย” พราหมณ์แก่รักตัวกลัวตาย และรักภรรยากลัวนางจะตาย ก็เดินแบกกระทอร้องไห้ แต่ความรักตัวมาก กว่า อย่างใดจึงเดินทางกลับบ้าน
พราหมณ์แก่เดินร้องได้มาถึงเมืองพาราณสี วันนั้นเป็นวันพระสิบห้าค่ำ ชนทั้งหลายถือดอกไม้และของหอม พากันไปฟังธรรมเทศนา พราหมณ์แก่เมื่อรู้ว่า คนทั้งปวดจะไปฟัง ธรรม ก็เดินตามไปด้วย หวังจะได้ฟังธรรมให้ดับทุกข์ แล้วก็มายืนแบกกระทอข้าวตูร้องไห้อยู่หน้า พระโพธิสัตว์ พระองค์ท่านจึงได้ถามพราหมณ์ถึงสาเหตุ พราหมณ์แก่ก็เล่าให้ฟังโดยตลอด พระโพธิสัตว์ ก็พิจารณาเหตุการณ์แล้วถามว่า “วันนี้ท่านบริโภคอาหารในที่ใด” พราหมณ์บอกว่า “ข้าพเจ้าบริโภคใต้ร่มไม้” “เมื่อท่านบริโภคแล้ว จะไปดื่มน้ำในลำธารนั้น ท่านผูกปากกระทอไว้ก่อนหรือ เปล่า” “ข้าพเจ้าผูกตอนดื่มน้ำอิ่มกลับมาแล้ว” พระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า “เราเข้าใจว่างูได้กลิ่นข้าวตูจึงเลื้อยเข้าไปอยู่ในกระทอ วันนี้ถ้าหากท่านเดินทาง ต่อไป ท่านก็จะล้วงหยิบข้าวตูในกระทอมากิน งูก็จะกัดท่านถึงแก่ความตาย แต่ถ้าท่านกลับบ้าน ภรรยา ท่านก็จะล้วงกระทอหยิบทรัพย์ งูก็จะกัดนางตาย เทพารักษ์สงสารท่าน จึงได้บอกเหตุล่วงหน้าแก่ท่าน ให้ท่านตัดสินใจเอาเองว่า จะรักษาชีวิตตัว หรือชีวิตภรรยา” แล้วท่านก็ทรงบอกพราหมณ์แก่ว่า “ท่านจง วางกระทอลง แล้วแก้ปากกระทอ งูก็จะเลื้อยออกมา ควรเอาไม้ตีเคาะกระทอก่อน” พราหมณ์แก่ก็ทำตาม ใช้ไม้เคาะตีกระทอไม่ช้างูเห่าก็เลื้อยออกมา แผ่แม่เบี้ย ขู่ฟ่อ หมองูก็จับตัวไป ปล่อยในป่า ชนทั้งหลายแซ่ซ้องปัญญาพระโพธิสัตว์ ฝนแก้วเจ็ดประการ ก็บันดาบให้ตกลงมาสักการะ บูชาพระองค์ พราหมณ์แก่ก็ถวายทรัพย์เจ็ดร้อยที่ตนแสวงหานั้น น้อมบูชาแด่พระโพธิสัตวื แต่พระองค์ ก็มิได้รับทรัพย์นั้น กลับเพิ่มให้อีกสามร้อย รวมเป็นพันหนึ่งให้พราหมณ์แก่ แล้วถามว่า “ใครใช้ให้ท่าน ไปแสวงหาทรัพย์ในเมืองไกล” พราหมณ์ตอบว่า “ภรรยาข้าพเจ้าใช้ นางต้องการทรัพย์พันหนึ่งไปใช้จ่าย ให้สบาย “ภรรยาท่านสาวหรือแก่” พราหมณ์ตอบตามจริง “เป็นสาวอายุได้สิบห้าปี” พระโพธิสัตว์นิ่งคิด แล้วทรงแนะนำว่า “ภรรยาสาวของท่าน เห็นจะคิดไม่ซื่อเสียแล้ว ท่านจงฝังทรัพย์ไว้นอกบ้านก่อน แล้ว จึงเข้าไปหาภรรยาท่านดีกว่า” พราหมณ์แก่ก็ทำตาม ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน เมื่อฝังทรัพย์แล้ว แกก็ไปเรียกภรรยาที่ประตูเรือน นางก็ตกใจ เพราะนางอยู่กับชายชู้ จึงดับไปออกมาเปิดประตูรับสามี พราหมณ์แก่เข้าไป ก็ตรงเข้านอน เพราะเหนื่อยและง่วง ส่วนชายชู้หนีไปแล้ว ภรรยาพราหมณ์แก่ล้วงมือหาทรัพย์ในกระทอ ก็ไม่มี จึงถาม ว่า “ท่านขอได้ทรัพย์มาใหม่” “ได้มาพันหนึ่ง เราฝังไว้ที่โคนไม้นอกบ้าน” แกบอกแล้วก็นอนหลับ นางจึง รีบไปบอกชายชู้ให้ขุดเอาทรัพย์ไปหมดคืนนั้นเอง รุ่งเช้า พราหมณ์ตื่นขึ้น ก็ออกไปขุดหาทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้ต้นไม้นอกบ้าน แต่ขุดค้นเท่าไรๆ ก็ไม่เจอ เขาจึง ไปกราบทูลพระโพธิสัตว์ว่า เงินที่ฝังไว้หายหมดแล้ว พระองค์จึงบอกว่า “เพราะท่านบอกที่ฝังทรัพย์แก่ ภรรยา นางก็ไปบอกให้ชายชู้ขุดไป” แล้วพระโพธิสัตว์ก็มอบทรัพย์ของพระองค์ ให้พราหมณ์แก่และ แนะนำว่า “ท่านจงกลับไปบอกภรรยา ให้จัดงานเลี้ยงเจ็ดวัน แล้วให้เชิญแขกฝ่ายชายของท่านมาเจ็ดคน เชิญแขกชาย ฝ่ายภรรยาท่านมาเจ็ดคนเท่ากันในวันแรก วันต่อมาเชิญแขกลดลงตามลำดับ จนเหลือ แขกชายในวันสุดท้าย ฝ่ายละหนึ่งคน ท่านจงจำหน้าไว้ว่า แขกชายข้างเมียท่านคือใครที่มากินเลี้ยงทุกวัน แล้วมาบอกเรา” พราหมณ์แก่ก็ทำตามทุกๆ ข้อ ในวันสุดท้ายของการกินเลี้ยง เขาก็จดจำชายที่เป็นแขกข้างภรรยาซึ่งมา กินเลี้ยงทุกวันมากราบทูลพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ให้บุรุษของท่านไปตามแขกชายนั้นมาเฝ้า แล้วตรัส ถามว่า “ท่านลักทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้ต้นไม้หน้าบ้านพราหมณ์แก่นี้หรือ” ด้วยบุญบารมีของพระองค์ เขาผู้นั้น ก็สารภาพว่า “ใช่ข้าพเจ้า” “ถ้าเช่นนั้น เจ้าก็คือชายชูของภรรยาพราหมณ์แก่ใช่หรือไม่” “ใช่ข้าพเจ้า” พระโพธิสัตว์ บอกให้เขานำทรัพย์พันหนึ่งมาคืนให้พราหมณ์แก่ และส่งตัวเขาผู้นั้นไปให้ทางการ บ้านเมืองลงโทษฐานเป็นชายชู้กับภรรยาชายอื่น แล้วก็โปรดให้พราหมณ์แก่มาอยู่ในอารามนี้ได้ ตาม สมควร พราหมณ์แก่ผู้รอดพ้นจากความตาย เพราะความกรุณาของเทพารักษ์กับพระโพธิสัตว์ ก็อยู่สวด มนต์ภาวนาธรรมไว้เป็นทิพย์สมบัติของตน ในอนาคตกาล ณ อารามในป่าไผ่นั้น (เวฬุวนาราม) หลักธรรมในนิทานนี้ คือ ปัญญาธรรม เป็นธรรมประเสริฐสุด และปัญญาเกิดจากการคบหานักปราชญ์ ได้สดับฟังธรรมของสัปบุรุษ 7 ข้อ คือ 1. ความละอายต่อบาป 2. ความกลัวบาป 3. เชื่อกรรม คือ บุญบาป เชื่อผลกรรมคือความดี ความชั่ว 4. มีศีล คือ เว้นบาป ทั้ง กาย วาจา ใจ 5. สดับฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า 6. บริจาคทาน มีข้าว มีน้ำเป็นต้น 7. มีปัญญาพิจารณาเหตุผล เสนกบัณฑิตผู้นี้ เป็นชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์ ท่านได้ยศศักดิ์บริวารและได้เป็นอำมาตย์เป็นนักปราชญ์ อันประเสริฐ เพราะความเป็นผู้สดับฟังมาก อันเป็นอุดมมงคล